วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของพระธรรมที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


ประโยชน์ของพระธรรมที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

คนส่วนใหญ่มักพูดว่า ตนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะงานประจำมีมากบ้าง ไม่มีเวลาว่างบ้าง ซึ่งล้วนเป็นการเข้าใจผิด ข้อเท็จจริงถ้าเรามีเวลาหายใจ เราก็มีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะตั้งแต่เราเกิดออกมาจากท้องแม่เรา เราก็ต้องหายใจตลอดเวลา หยุดหายใจเมื่อใดเราก็ตายเมื่อนั้น (ทางแพทย์หยุดหายใจ ประมาณ 2 นาที ก็ตาย ) แต่เราหายใจแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ไป เหมือนปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะความเข้าใจผิดๆ จึงหาประโยชน์จากธรรมชาติไม่พบ (ธรรมะ แปลว่าธรรมชาติ หรือธรรมดามีอยู่แล้วเป็นปกติในโลก แต่คนไม่ฉลาดจึงไม่พบ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านลงมาตรัสรู้ (เกิด) และพบพระธรรมจากธรรมชาตินี้ก่อนผู้อื่น เมื่อทดลองปฏิบัติจนเกิดผลดีแล้ว จึงรวบรวมพระธรรมขึ้น และสอนผู้อื่นให้รู้ ให้เห็นตามท่านมาจนทุกวันนี้ )
เมื่อเข้าใจแล้ว เราก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในที่ทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกโอกาส และทุกอิริยาบท ฉะนั้น การเรียน หรือการทำงานทางโลก เราก็สามารถทำไปพร้อมๆ กับทางธรรมได้ โดยให้ร่างกายทำงานไปทางโลก ส่วนใจหรือจิตก็ทำงานไปทางธรรมต่างคนต่างทำงานโดยไม่ขัดกัน ไม่เสียเวลา 2 ครั้ง เช่น ขณะออกกำลังกาย ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างน้อย 3 อย่าง คือ
1. เอาจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออกไปด้วยจัดเป็น อานาปานุสสติกรรมฐาน
(เป็นกายกรรม)
2. เอาจิตนึกภาวนาไปด้วย เวลาหายใจเข้านึกว่าพุท เวลาหายใจออกนึกว่าโธ พุทโธเป็
พระนามย่อของพระพุทธเจ้า การนึกถึงพระพุทธเจ้าจึงเป็นพุทธนุสสติกรรมฐาน (พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดก่อนจะตาย หากเอาจิตนึกถึงตถาคตแล้วเขาจะไม่ตกนรก) ( เป็นวจีกรรม)
3. เอาจิตนึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เราพอใจ เช่นภาพพระพุทธชินราช
หรือภาพหลวงพ่อโต หรือภาพหลวงพ่อโสธร หรือภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง หรือหลวงพ่อฤาษีที่เรากราบไหว้อยู่เป็นปกติที่บ้าน (เป็นมโนกรรม)

การปฏิบัติใหม่ๆ อาจทำได้ไม่ครบทั้ง 3 ข้อ เพราะยังไม่ชำนาญก็ให้ทำทีละข้อ หรือใหม่ๆอาจเผลอไปบ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อรู้ก็เริ่มต้นใหม่ ทำบ่อยๆด้วยความเพียร ในไม่ช้าจิตก็จะชินไปเอง จนที่สุดก็จะสามารถทำได้ตลอดเวลา แม้เวลานอนก็จะภาวนาไปจนกว่าจะหลับ ใครปฏิบัติได้ตามนี้ เขาผู้นั้นจะไม่มีทางตกนรก
ขณะทำกิจอื่นๆ เช่น ระหว่างนั่งรถไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือยามว่าง ก็ปฏิบัติธรรมได้โดยใช้ใจปฏิบัติ เพราะพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ธรรมหรือกรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด (มีใจเป็นใหญ่) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ” ท่านให้เอาเจตนาของใจเป็นหลัก ไม่ให้ดูกายและวาจา เพราะกายและวาจาอยู่ในอำนาจของใจ (คนชั่วย่อมเล่นละคร แสดงละครหลอกผู้อื่นได้อย่างดีด้วยการแสดงทางกายและทางวาจา ซึ่งชาวโลกเขากำลังแสดงกันอยู่ในขณะนี้)

วิธีแก้ไข
ให้ตั้งคำถามใจตนเองแล้วตอบเอง ด้วยคำถาม 3 ข้อ คือ บุญคืออะไร, บุญอยู่ที่ไหน, บุญเกิดได้อย่างไร เพียงเท่านี้เราอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ เราก็หาบุญให้กับตนเองได้ตลอดเวลา
1. บุญคืออะไร บุญก็คือความดี อะไรก็ตามที่เราคิด-พูด-ทำ แล้วเป็นความดี ไม่ผิดศีล
ไม่ผิดธรรม สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น
2. บุญอยู่ที่ไหน บุญ-บาป, ดี-ชั่ว ล้วนอยู่ที่ใจเราทั้งสิ้น มิได้อยู่ตามเขา, ตามถ้ำ, ตามวัด ตามป่า หากอยู่ที่ใจเรานั่นเอง จงอย่าหาบุญนอกตัวเรา นอกใจของเรา
3. บุญเกิดได้อย่างไร บุญ-บาป เกิดจากความคิดของเราเองทั้งสิ้น คิดดีก็เป็นบุญ เป็นความดี เป็นกุศล หากคิดไม่ดี จิตเราก็เศร้าหมอง เป็นทุกข์หรือบาป อกุศล
ดังนั้นบุญ-บาปจึงเกิดที่ใจ เกิดจากความคิดของเราเป็นปฐมเหตุ แล้วจึงล้นจากใจออกไปสู่วาจา และสู่กายตามลำดับ
เมื่อเข้าใจความหมาย 3 ประโยคนี้แล้ว ก็จงนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อตัดสินสิ่งที่มากระทบใจเรา จากทาง ตา-หู-จมูก-ลิ้น และกายได้อย่างดี ว่าสิ่งใดถูก-ผิด, ควรหรือไม่ควร, มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์, มีคุณหรือมีโทษ, ผู้รู้ติเตือนหรือไม่ติเตือน, ทำให้เป็นทุกข์ หรือไม่เป็นทุกข์ หากเราพิจารณาแล้วเห็นว่าสิ่งนั้นไม่สมควร, ไม่มีประโยชน์, มีโทษ, ผู้รู้ติเตือน, ทำให้เกิดทุกข์, เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น เราก็จงละธรรมหรือกรรมนั้นเสีย คืออย่าคิดต่อไป, อย่าพูดต่อไป, อย่าทำต่อไป เพราะเป็นอกุศลกรรม เช่น
- การนั่งประท้วงอดอาหาร เพื่อให้รัฐบาลทำตามความคิดของตน
- การเดินขบวนประท้วงรัฐบาลให้ทำตามความคิดของตน จนเกิดเหตุการณ์รุนแรง
ขนาดเผาบ้าน เผาเมืองทำลายของของรัฐอันเป็นสมบัติ และเป็นเงินภาษีของประชาชนทุกคน อย่างคนขาดสติ บ้าเลือด แล้วอ้างตนเองว่าเป็นวีรชน, เป็นคนรักชาติ, เป็นความดี, เป็นประชาธิปไตยแท้จริง ที่สามารถทำอะไรก็ได้ตามใจตนโดยไม่คิดถึงกฏหมายใช้กฏหมู่อยู่เหนือกฏหมาย ทำให้ประชาชนทั้งประเทศเดือดร้อน ขอยกตัวอย่างมาเป็นแนวให้คิดเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักปลุกระดม หรือนักการเมือง ปัญหาเหล่านี้ สามารถใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องพิจารณาตัดสินด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง หรือจะใช้หลักธรรมที่พราหมณถามพระองค์ว่า จะใช้หลักอย่างใดตัดสินว่าใครดี หรือไม่ดี เป็นเครื่องพิจารณาตัดสิน ทรงตรัสให้ใช้หลักธรรม 2 ข้อ เป็นเครื่องตัดสินคือ
1. ต้องมีศีล
2. ต้องมีความกตัญญูรู้คุณท่าน
สรุปว่า ผู้ใดที่ใคร่ครวญธรรมะหรือพิจารณาธรรมะอยู่เสมอจิตของผู้นั้นจะไม่มีวันเสื่อมจากสัจธรรม (ซึ่งเป็นพุทธพจน์)

“เหตุการณ์ของบ้านเมืองระหว่างวันที่ 18 พ.ค.-25 พ.ค. 35” และในปัจจุบันนี้ เป็นของจริงที่เด็กหรือเยาวชนของชาติได้พบเห็นด้วยตา และได้ยินด้วยหูของตนเอง แต่กำลังถูกพวกที่ไม่มีศาสนายุแหย่ ด้วยอุบายต่างๆเพือให้เข้าใจผิด (ไม่มีศาสนาเพราะเขาปฏิเสธชัดเจนว่า เทวดา-พรหมไม่มี, นรก-สวรรค์ไม่มี, คนตายแล้วสูญ เป็นการปรามาสพระธรรม ซึ่งเท่ากับปรามาสพระพุทธเจ้าโดยตรง ตั้งตนเป็นศัตรูกับคำสอนของพระพุทธเจ้าเขาจึงทำชั่วได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องรับผิดชอบ)
ดังนั้น เพื่อป้องกันเด็กๆ เข้าใจผิดต่เหตุการณ์ดังกล่าว จึงให้เด็กทุกคนใช้ที่พึ่งอันสุดท้ายคือ ใช้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยใช้หลักขอพุทธศาสนาเป็นเครื่องพิจารณาตัดสินใจ สิ่งใดถูก-ผิด, ดีหรือเลว, เป็นบุหรือบาป, ควรหรืไม่ควร, มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์, เป็นคุณหรือเป็นโทษ ด้วยความคิดของตนเองว่า ระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้า กับคำสอนของคนที่ไม่มีศาสนานั้น เราควรจะเชื่อใครดี
ธรรมะอีกข้อหนึ่งในพุทธศาสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้คือ เทวธรรม คือธรรมที่ทำให้คนเป็นเทวดาได้ คือหิริและโอตตัปปะ
หิริ หมายถึง มีความละอายต่อความชั่ว(บาป) โอตตัปปะ หมายถึง เกรงกลัวผลของความชั่ว (กลัวผลของบาป) คนดีเขาจะไม่ทำชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพราะกลัวบาปและเกรงว่าผลกรรมที่ตนทำบาปไว้ จะมาสนองตนเอง แต่คนที่ไม่เชื่อว่าเทวดามี พรหมมี, นรก-สวรรค์มีเท่ากับเขาไม่เชื่อว่าเทวธรรมี เขาจึงคิดชั่ว-ทำชั่ว-พูดชั่ว ได้ทุกอย่าง

ฉะนั้น ศีลทุกข้อเขาจึงไม่มีด้วย เราควรใช้ปัญญาให้มากก่อนที่จะเชื่ออะไร โดยใช้หลักทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องตัดสินอย่าดูอาการแสดงทางกาย และวาจา ซึ่งเป็นของที่แกล้งทำขึ้นหลอกคนที่โง่กว่าตนได้ เหมือนนักแสดงละครชั้นดีทั่วๆไป ซึ่งไม่ใช่ของจริง เด็กทุกคนได้เห็น ได้ยินได้ฟัง ได้อ่านข่าวด้วยตนเองว่า มีคนกลุ่มหนึ่งมีผู้นำออกมาเผาบ้าน-เผาเมือง, ปล้นร้านค้า เผารถยนต์, เผาสถานีตำรวจ, เผารถดับเพลิงไปหลายสิบคัน, ทุบตู้โทรศัพท์สาธารณะให้เสียหาย แล้วเอาเงินในตู้ไป, ทำลายไฟสัญญาณจราจรเพื่อให้เกิดจลาจล, ขัดขวางเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ตามกฏหมาย, หยิบของตามร้านค้าไปตามชอบใจแบบโจร, หรือคนขาดสติ-สัมปชัญญะ หรือคนที่กำลังบ้าเลือด การกระทำของพวกเหล่านี้ ซึ่งมีผู้นำเป็นแกนกลาง เป็นการกระทำที่เปิดเผย ทำกันซึ่งๆหน้าโดยไม่กลัวบาป และเกรงกลัวผลของบาป (ขาดหิริ-โอตตัปปะหรือเทวธรรม เพราะผู้นำเขาไม่เชื่อว่าเทวดามี จึงนำขบวนให้ทำได้ ตามใจชอบ และไม่เชื่อว่าเทวดามี จึงนำขบวนให้ทำได้ตามใจชอบ และไม่เชื่อว่านรกมี ตายแล้วก็สูญ) จึงขอให้เด็กๆ ทุกคนที่เห็นและทราบเหตุการณ์เหล่านี้ ใช้ปัญญาพิจารณาดูเอาเองว่า ขนาดต่อหน้าต่อตาเรา เขายังทำกันขนาดนี้ (ทำชั่วขนาดนี้) แล้วลับหลังเขาจะทำชั่วได้ขนาดไหน
(เป็นเหตุการณ์เมื่อ 18 พ.ค. 35 - 25 พ.ค. 35 )

สรุปว่า
1. เป็นโชคดีของเด็กๆ ที่ได้เห็นของจริง ในเหตุการณ์จริงๆ และได้ใช้ความคิดของตนเองเป็นเครื่องตัดสิน โดยอาศัยหลักทางพุทธศาสนาเป็นกฏเกณฑ์ เพราะพุทธเจ้าท่านหมดกิเลสแล้ว จึงเชื่อถือคำสอนของพระองค์ได้ จงอย่าใช้อารามณ์ของคนที่ยังมากอยู่ด้วยกิเลส-ตัณหา-อุปทาน และยังสร้างอกุศลกรรมอยู่ทุกวันเป็นหลักตัดสิน
2. เหตุผลที่พระองค์ใช้คำสรรพนามแทนพระองค์ว่า “ตถาคต” ก็เพราะ
- พระองค์เป็นผู้พบอริยสัจก่อนใครอื่นในโลก และมีแต่เฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น (อริยสัจจัดเป็นวิปัสสนาญาณ หรือตัวปัญญาสูงสุดในพุทธศาสนา ที่ทำให้บุคคลมีดวงตาเห็นธรรม)
- ธรรมะที่พระองค์รวบรวมแล้วใช้สอนพวกเราตั้งแต่วันตรัสรู้ จนถึงวันปรินิพพาน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยเปลี่ยนแปลง (เพราะเป็นสัจธรรม)
- สิ่งใดไม่จริง พระองค์ไม่ตรัส (เพราะพิสูจน์ด้วยพระองค์มาแล้ว จึงนำมาสอน) ตรัสอย่างใดก็เป็นอย่างนั้น ทำได้ตามที่พูดพูดได้ตามที่ได้ทำมา ตรัสอย่างใดจึงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอื่น (คำสอนของพระองค์ จึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อีก เชื่อได้เลย)
- พระองค์เป็นธรรมราชา เป็นเจ้าของพุทธศาสนาเป็นพระองค์แรกในพุทธศาสนา จึงเป็นพี่ใหญ่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องก้มศีรษะให้กับใคร
ดังนั้น คำว่า ตถาคต จึงเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของพระองค์ หมายถึงบุคคลที่กล่าวอย่างใด ก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอื่น
3. เขาว่า เรื่องใดที่เกี่ยวกับศาสนา หากผู้พูดใช้คำว่า “เขาว่า” ก็จงอย่าสนใจ ให้สนใจแต่ที่พระพุทธเจ้าท่านว่า เพราะเรากำลังพูด กำลังศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ใครว่าก็เรื่องของเขา




แหล่งที่มา : “ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ”
โดย พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน




บ้านอิ่มบุญ

บ้านอิ่มบุญ
กลับหน้าหลัก